กัญชา กัญชง เป็นหนึ่งในพืช สมุนไพร ที่เก่าแก่ที่สุด โดยพืชชนิดนี้กระจายพันธุ์จากภูมิภาคเอเชีย ไปยัง เอฟริกา จนถึง ตะวันออกกลาง และขยายไปยังยุโรป ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสตกาล และถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อวัตถุประสงค์ทาง อุตสาหกรรม เช่น การแปรรูปเป็นเส้นใยกัญชง
ในปี ค.ศ. 1840 กัญชานั้นได้ถูกนำมาใช้ในการบำบัดรักษาโรคอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยนายแพทย์ชาวไอร์แลนด์ ชื่อ William O’Shaughnessy เขาได้สังเกตเห็นการใช้กัญชาในการบำบัดโรคอย่างแพร่หลายในอินเดีย และนำมาปรับใช้ โดยการรักษาด้วยกัญชานั้น สามารถแปรรูปและปรับเปลี่ยนการใช้งานให้รักษาได้มากกว่า 10 รูปแบบ โดยให้เลือกใช้งานตามอาการต่างๆ เช่น อาการปวดประจำเดือน หืด ไอ นอนไม่หลับ ปวดในระยะคลอด ไมเกรน คออักเสบ รวมถึงในกรณีที่มีผู้ที่ต้องการหยุดใช่ฝิ่น แต่ในช่วงนั้น ยังไม่มีเครื่องมีที่จะมาควบคุมคุณภาพ และ ปริมาณยาจากกัญชา จึงทำให้ สารที่ได้รับจากกัญชา มีปริมาณน้อยเกินไป จน ไม่เห็นผล หรือ มากเกินไปจนเกิดผลข้างเคียง ข้อบกพร่องเหล่านี้ทำให้การใช้กัญชาเพื่อการบำบัดรักษาโรคส่วนใหญ่ถูกทดแทนด้วยยา ที่สกัดจากฝิ่น เล่น โคเดอีน และ มอร์ฟีน กัญชา จึงค่อยๆสูญหายไปจากคำรับยาตะวันตก ในช่วงปลายทศวรรษ ในปี ค.ศ. องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่ากัญชาและยาเตรียมจากกัญชาไม่มีประโยชน์ ด้านการแพทย์อีกต่อไป
ขวดยากํญชา Parke, Davis & Company
ในปี ค.ศ. 1937 ในขณะที่กัญชายังคงถูกแบนในทั้ง 48 รัฐของสหรัฐอเมริกา ด้วยรัฐบัญญัติภาษีกัฐชา ดร. วิลเลียม ซี. วูดเวิร์ด ที่ปรึกษาด้านกฏหมายของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (AMA) ได้แถลงแก้คุณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้ว่า “ยามีศักยภาพที่ไม่ควรถูกปิดโอกาสโดยกฎหมายที่จะมีผลในทิศทางตรงกันข้าม เราควรปล่อยให้แพทย์และเภสัชกร พัฒนาการใช้ยานี้ตามที่เห็นสมควร” ทว่าคำคัดค้านของ ดร. วูดเวิร์ดและ AMA ไม่ได้รับความสนใจ และในเวลาต่อมา กัญชา ถูกเปลี่ยนสถานภาพจากยาที่ปลอดภัยในรายการยาของเภสัชตำรับของประเทศสหรัฐอเมริกา (USP) ให้กลายเป็นสารเสพติดให้โทษ แต่ AMA และ ดร.วูดเวิร์ด ยังคงดำเนินการพลักดันกัญชาให้สามารถนำมาพัฒนาเป็นยาเพื่อการรักษาอย่างถูกกฏหมาย
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2016 ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนามากยิ่งขึ้น ทาง รายการยาของเภสัชตำรับของประเทศสหรัฐอเมริกา (USP) ได้ดำเนินการพิจารณาเรื่องกัญชาอีกครั้ง ที่ท้ายที่สุด เราอาจได้เห็นสารสกัดจากสมุนไพรกัญชากลับเข้ามาอยู่ในเภสัชตำรับตามเดิม และ อีกหลายๆหน่วยงานและหลายๆประเทศ เริ่มมีการปลดล๊อคการใช้กัญชาทางการแพทย์ และ การใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการ ตามความเหมาะสมและดูแลด้วยแพทย์
และในปี ค.ศ. 2022 ในช่วงเดือน มกราคม ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลไทย ได้มีการพลักดันให้กัญชาทางการแพทย์ ได้ถูกนำมาวิจัยและพัฒนาอย่างถูกกฎหมาย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามปลดล็อคกัญชาพ้นยาเสพติด เปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์จากัญชาได้ โดยที่สารสกัดของกัญชาที่มีค่า THC เกิน 0.2% จะยังถือว่าเป็นสารเสพติด จะมีการควบคุม ทำได้เฉพาะที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น